เมนู

อธิบายปริยาปันนาปริยาปันนทัสสนวาระที่ 3


ในวาระที่ 3

คำว่า กามธาตุปริยาปนฺนา อธิบายว่า ชื่อว่า
ปริยาปันนา เพราะอรรถว่า การเสพซึ่งกามธาตุ อาศัยกามธาตุ อยู่ภายใน
กามธาตุนั้น หยั่งลงสู่กามธาตุนั้น จึงถึงซึ่งการนับว่า เป็นกามธาตุนั่นแหละ.
แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้. คำว่า ปริยาปนฺนา ได้แก่ เป็นคำกำหนด
ธรรมเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งภพ และด้วยสามารถแห่งโอกาส หรือว่าด้วย
สามารถแห่งการเกิดขึ้นแห่งสัตว์. คำว่า อปริยาปนฺนา ได้แก่ เป็นคำไม่
กำหนด เหมือนอย่างนั้น.

อธิบายวิชชมานาวิชชมานธัมมทัสสนวาระที่ 4


ในวาระที่ 4

คำว่า เอกาทสายตนานิ ได้แก่ อายตนะ 11
เว้นสัททายตนะ. จริงอยู่ สัททายตนะนั้น ย่อมไม่บังเกิดขึ้นในขณะปฏิสนธิ
แน่แท้. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้. ในที่นี้พระผู้มี
พระภาคเจ้า มิได้ตรัสคติแห่งเทพและอสูร ในหมวดทั้ง 7 ในวาระนี้ แต่ตรัส
คติแห่งคัพภเสยยกะทั้งหลายไว้โดยไม่แปลกกัน. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า
คัพภเสยยกะทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นที่ใด ๆ อายตนะของเทพและอสูรทั้งหลาย
เหล่านั้นย่อมเกิดในที่นั้น ๆ. ธาตุทั้งหลาย ก็อย่างนั้น. คำที่เหลือในที่นี้
มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อธิบายทัสสนวาระที่ 5


คำใด ที่จะพึงกล่าวในวาระที่ 5 คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน
อรรถกถาแห่งธัมมสังคหะนั่นแหละ.

อธิบายอุปาทกัมมอายุปปมาณทัสสนวาระที่ 6


ในวาระที่ 6

ชื่อว่า เทพ (เทวดา) เพราะย่อมบันเทิง ด้วยเบญจ-
กามคุณมีประการต่าง ๆ อันวิเศษด้วยฤทธิ์. คำว่า สมฺมติเทวา ได้แก่ เทพ
โดยสมมติของชาวโลก อย่างนี้ คือ พระราชา พระเทวี. คำว่า อุปฺปตฺติเทวา
ได้แก่เป็นเทพโดยอุปบัติ เพราะความบังเกิดขึ้นในเทวโลก. คำว่า วิสุทฺธิเทวา
ได้แก่ เป็นเทพโดยความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง ควรแก่การบูชาของเทพ
ทั้งหมด. คำว่า ราชาโน ได้แก่ กษัตริย์ผู้มุรธาภิเษกแล้ว. คำว่า เทวิโย
ได้แก่เป็นมเหสีของพระราชาเหล่านั้น. คำว่า กุมารา ได้แก่ พระกุมารที่
เกิดขึ้นในพระครรภ์ของพระเทวี ของพระราชาผู้อภิเษกแล้ว.
คำว่า อุโปสถกมฺมํ กริตฺวา ได้แก่ เข้าจำอุโบสถอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 ในวัน 14 ค่ำ เป็นต้น.
บัดนี้ เพราะบุญกรรมมีการให้ทานเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นต้น ย่อม
เป็นปัจจัยแก่ความเป็นมนุษย์มีรูปงาม. คือว่า บุญกรรมอันตนกระทำแล้วน้อย
ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความเป็นมนุษย์มีรูปงาม ผิว่าบุญกรรมอันตนกระทำมากยิ่ง
ก็ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความเป็นกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น มีประการต่าง ๆ อัน
เป็นส่วนนานัปการในเพราะบุญกรรมอันยิ่ง เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงความต่างกันแห่งความบังเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่ง
บุญกรรมนั้น จึงตรัสคำว่า อปฺเปกจฺเจ คหปติมหาสาลานํ (แปลว่า
บางคนเข้าถึงความเป็นคหบดีมหาศาล) เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า
มหนฺโต สาโร เอเตสํ พึงทราบวินิจฉัยว่า สาระ (ความมั่งคั่ง) อันใหญ่
ของบุคคลเหล่านั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น จึงชื่อว่ามหาสาระ (ผู้
มั่งคั่ง). ก็คำว่า มหาสาระ นี้ ท่านเปลี่ยน อักษรให้เป็น อักษรจึงเป็น